การเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยเฉพาะในหมวดที่ ๔ แนวทางการจัด การศึกษา มาตรา ๒๒ ได้กล่าวไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถ พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” ดังนั้นผู้สอนทุกคนจึงจําเป็นต้อง ปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากการเป็นผู้บอกความรู้ให้จบไปในแต่ละครั้งที่เข้าสอนมาเป็นผู้เอื้อ อํานวยความสะดวก (Facilitator)ในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนกล่าวคือเป็นผู้กระตุ้นส่งเสริมสนับสนุนจัด สิ่งเร้าและจัดกิจกกรมให้ผู้เรียน เกิดการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ ความสามารถ ความถนัด และ ความสนใจของแต่ละบุคคล การจัดกิจกรรมจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์วิจารณ์ สร้างสรรค์ศึกษาและค้นคว้าได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเองเป็นสาระ ความรู้ด้วยตนเอง รักการอ่าน รักการเรียนรู้อันจะนําไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long-life Education) และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man ) ผู้สอนจึงต้องสอนวิธีการแสวงหา ความรู้ (Learn how to learn ) มากกว่าสอนตัวความรู้สอนการคิดมากกว่าสอนให้ท่องจําสอนโดย เน้น ผู้เรียนเป็นสําคัญ มากกว่าเน้นที่เนื้อหาวิชา
1. การเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
(๒๕๔๔ : ๑๑๖-๑๑๙) ได้กําหนดแนวทางในการ ปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๔๒ ในด้าน การ เรียนการสอนในประเด็นต่างๆ
ต่อไปนี้
๑.
แต่ละสถาบันต้องกําหนดเป้าหมายและภารกิจที่ชัดเจนตามความพร้อมและความ เชี่ยวชาญ เฉพาะของแต่ละสถาบัน
ทั้งนี้สถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ต้องแสวงหา ๑ วิธีการจัดการศึกษา
และยุทธศาสตร์ที่จะสามารถเข้าถึงผู้เรียนได้มากที่สุด
๒.
การพัฒนาหลักสูตร ต้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง และพิจารณาถึงความสอดคล้องกับ ความ
ต้องการของสังคม ธุรกิจ อุตสาหกรรม สาระของหลักสูตร นอกจากมุ่งพัฒนาบัณฑิตอย่าง
สมดุล ทั้ง ความรู้ความสามารถและความดีงามแล้ว ยังต้องมุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการ
วิชาชีพชั้นสูง และการ ค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
๓.
รูปแบบการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน ต้องมีความหลากหลายตามความต้องการ ของ ผู้เรียน
โดยไม่จํากัดวัน เวลา สถานที่ เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Life
-Long Learning) โดยนอกจากจะจัดภายในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว
จะต้องพัฒนารูปแบบให้มีความ ยืดหยุ่น หลากหลายขึ้น
อาทิการจัดร่วมกับสถานประกอบการในโปรแกรมพิเศษประเภทต่างๆ เป็นต้น
๔.
การจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมเสริม ต้องยึดผู้เรียนเป็นหลัก โดยต้องเน้น ความสําคัญทั้งความรู้คุณธรรม
และกระบวนการเรียนรู้โดยคณาจารย์ผู้สอนควรทํา หน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
๕.
ปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน หลักสูตร ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงและเพื่อสร้าง
บัณฑิต ที่พึงประสงค์มีความใฝ่รู้สามารถคิดวิเคราะห์วิจารณ์ริเริ่ม
สร้างสรรค์มีความรับผิดชอบ และมีคุณธรรม จริยธรรม
ควบคู่กับความรู้ความสามารถในสาขาวิชาต่างๆ
๖.
ให้มีการกําหนดมาตรฐานหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร การรับรองหลักสูตรของ สถาบันอุดมศึกษาแต่ละประเภทที่เป็นมาตรฐานเดียวกันสําหรับอุดมศึกษาแต่ละระดับ
๗.
ให้ความสําคัญกับการลงทุนเพื่อการวิจัย สร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา
ประเทศ รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
๘.
ปรับระบบการประเมินและวัดผลการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อเอื้อต่อการพัฒนา คุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยพิจารณาจากความประพฤติการสังเกต
พฤติกรรม การร่วมกิจกรรม ควบคู่ กับการทดสอบตามความเหมาะสม ๙.
นําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมและการบริหารจัดการ ทั้ง เพื่อพัฒนาคุณภาพ
และกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างกว้างขวางและทั่วถึง การจัดกระบวนการเรียนตามแนวทางของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
(๒๕๔๓ : ๕.๑๓) แสดงลักษณะผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ไว้ดังนี้
คนดี
|
• ดําเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม
• ดีทั้งใจและพฤติกรรม
• มีวินัยต่อตนเองและสังคม
• จิตใจดีงาม มีคุณธรรม จริยธรรม ๒
• อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
• มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย
• ควบคมตนเองได้
• พัฒนาตนเองเต็มศักยภาพ
• ทํางานเพื่อส่วนรวม
|
คนเก่ง
|
• มีความรอบรู้มีความรู้ทั้งไทยและสากล
• มีความสามารถพิเศษเฉพาะทาง
• มีความคิดสร้างสรรค์มีทักษะ
• เป็นผู้นําผู้ตามที่ดี
• ทันโลกทันเทคโนโลยี
• เรียนรู้ดัวยตนเองได้
• รักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต
• รู้จักตนเอง
• แก้ปัญหาเป็น
• กล้าแสดงออก
|
มีความสุข
|
•ร่างกายแข็งแรง ร่าเริงแจ่มใส
• จิตใจเข้มเข็ง
• มีความสุขในการเรียนรู้และการทํางาน
• มีความรักต่อทุกสรรพสิ่ง
• มนุษยสัมพันธ์ดี
• ปลอดพันจากอบายมุข
|
ลักษณะการเรียนรู้ที่พึงประสงค์
• เป็นกระบวนการทางปัญญา
พัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
• เรียนอย่างมีความสุข
เน้นประโยชน์ของ ผู้เรียนเป็นสําคัญ
• บูรณาการสาระการเรียน
สอดคล้องกับความสนใจ ทันสมัยตามสภาพจริง
• เป็นกระบวนการคิด
และการปฏิบัติจริง นําไปใช้ประโยชน์ได้
• เป็นกระบวนการเรียนร่วมกัน
โดยมีผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมจัดบรรยากาศที่เอื้อ ต่อการเรียนเรียน
การจัดกระบวนการเรียนตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ มีขั้นตอน สําคัญ
ดังต่อไปนี้คือ (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, ๒๕๔๓
: ๒๙)
๑.
การสํารวจความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน สํารวจพื้นฐานความรู้เดิม
๒.
การเตรียมการ ครูเตรียมเกี่ยวกับสาระการเรียนและองค์ประกอบอื่นๆ
ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ วางแผนการเรียนการสอน
๓.
การดําเนินกิจกรรมการเรียน เช่น ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียน
ขั้น วิเคราะห์อภิปรายผลงาน/องค์ความรู้ที่สรุปไต้จากกิจกรรมการเรียนวิเคราะห์อภิปรายกระบวนการ
เรียนรู้
๔.
การประเมินผล
๕.
การสรุปและนําไปประยุกต์ใช้
๑.๒ กระบวนการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติไต้กําหนดลักษณะกระบวนการจัดการเรียนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสําคัญไว้๙ ประการ คือ
๑.
มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียน
๒.
กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์และคิดสร้างสรรค์
๓.
กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้แสวงหาคําตอบ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
๔.
นําภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียน การสอน
๕.
ฝึกและส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมของผู้เรียน
๖.
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสุนทรียภาพอย่างครบถ้วนทั้งด้านดนตรีศิลปะ และกีฬา
๗.
ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย การทํางานร่วมกับผู้อื่น และความรับผิดชอบต่อกลุ่ม ร่วมกัน
๘.
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรักสถานศึกษาของตนเอง และมีความกระตือรือร้นในการเรียน
๙.
ประเมินพัฒนาการผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง
๑.๓ บทบาทของครู
ทิศนา แขมมณี (๒๕๔๗ : ๓๖-๓๗)
ได้กล่าวถึงบทบาทของครูและได้ให้ข้อเสนอแนะสําหรับ ครูผู้สอนไว้ดังนี้ ข้อเสนอแนะสําหรับครู
๑.
ในการศึกษาเกี่ยวกับการสอน ครูพึงให้ความสนใจในหลักการมิใช่มุ่งความสนใจที่เทคนิค วิธีการเท่านั้น
ครูควรพยายามทําความเข้าใจในหลักการ จําหลักการให้แม่น และหมั่นประยุกต์ใช้หลักการนั้นในสถานการณ์ที่หลากหลาย
๒.
ครูพึงศึกษาแนวความคิด ความเชื่อ หรือหลักการต่างๆ ซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลาย และ เลือกสรรสิ่งที่ตนเชื่อถือ
หมั่นวิเคราะห์การคิดและการกระทําของตนว่าสอดคล้องกัน หรือไม่ และศึกษา ผลการกระทํา
เพื่อปรับเปลี่ยนหรือยืนยันแนวความคิด ความเชื่อมั่นต่อไป
๓.
ครูพึงเปิดใจกว้างในการศึกษาแนวความคิด ความเชื่อ หรือหลักการต่างๆ ที่แตกต่าง ไป จากความคิดของตน
และเปิดโอกาสให้ตนเองได้มีประสบการณ์ในสิ่งที่แตกต่างออกไป โดยการทดลอง ปฏิบัติหรือศึกษา
วิจัย เพื่อพิสูจน์ทดสอบแนวคิดใหม่ๆ อันอาจจะ นํามาซึ่งทางเลือกใหม่ๆ ทําให้การ เรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
มีความคิดแปลกใหม่มีชีวิตชีวา น่าตื่นเต้น และน่าเรียนรู้ทั้งสําหรับ ครูและผู้เรียน
สุคนธ์สินธุพานนท์และคณะ
(๒๕๔๕ : ๑๗ - ๑๘ )กล่าวถึงบทบาทของผู้สอนในการดําเนินงาน ตามกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษานั้น
ผู้สอน ทุกคน จะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการดังต่อไปนี้
๑.
การส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน การที่ผู้สอนจะสามารถจัด กิจกรรม การเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาเป็นผลสําเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
นั้น จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและชุมชนในการพัฒนาการศึกษา ดังนั้น
ผู้บริหารและ ผู้สอนจะต้องร่วมกันสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนในการร่วมกันจัดการศึกษา
ซึ่งผู้ปกครองและชุมชน เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการศึกษา
และมีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้าง ความเข้าใจระหว่างกัน
๒.
การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ผู้สอนจะต้องคํานึงถึงสภาพแวดล้อมซึ่งเป็น
บรรยากาศที่เอื้ออํานวยต่อการเรียนรู้การจัดบรรยากาศในห้องเรียนและนอกห้องเรียนให้เหมาะสม
ต่อ การเรียนรู้มีสื่อการสอนที่เร้าความสนใจผู้เรียน
ตลอดจนการดําเนินกิจกรรมในบรรยากาศแห่ง ความเป็น กัลยาณมิตรยอมเอ ่
ื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้
๓.
การพัฒนางานของตนเอง ผู้สอนจะต้องแสวงหาความรู้และประสบการณ์เพื่อนํามาใช้ใน การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการ เรียนรู้ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนผลการปฏิบัติงานที่ประสบความสําเร็จระหว่างกัน
๔.
การจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับหลักสูตร ความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่นผู้สอน จะต้องให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตร
ให้สอดคล้องกับสภาพและความ ต้องการ ของท้องถิ่นโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
และมีการจัดแนวการเรียนการสอนให้สอดคล้อง กับหลักสูตร ตามความต้องการของผู้เรียน
ความต้องการของท้องถิ่นและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ให้ สามารถเชื่อมโยงแก้ไขปัญหาท้องถิ่นได้และเน้นการปฏิบัติจริง
๕. กระบวนการจัดการเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ผู้สอนทุกคนควรจะได้ทําความ
เข้าใจให้ กระจ่างชัดในความหมาย
และลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสําคัญ เพื่อ จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง
พิมพันธ์เดชะคุปต์และพเยาว์ยินดีสุข (๒๕๕๑ : ๒๓-๒๔) กล่าวถึงการจัดการเรียน
การสอนที่
๕ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ทําให้ผู้สอนในยุคปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนบทบาทและเสนอ บทบาทไว้ดังนี้
บทบาทของครูในยุคปัจจุบัน
ครูต้องสอนหรือฝึกผู้เรียน ดังนี้
๑.
ฝึกคิด คือ สอนให้ผู้เรียนคิดเองเป็น
๒. ฝึกให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า
ศึกษาให้ลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และมีการวิจัยค้นคว้า
๓.
ฝึกให้ผู้เรียนบริการสังคม คือ สิ่งที่เรียนจะมีคุณค่า
เมื่อได้ใช้ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์ต่อ สังคม ครูเป็นภูมิปัญญาที่สําคัญในการพัฒนาให้ผู้เรียนตั้งแต่ตัวเล็กๆ
ซึ่งเป็นประชากรที่สําคัญของโลก ครูต้องเป็นตัวทวีคูณในการนําเด็กเข้าสู่ระบบของการเรียนรู้บทบาทของครูจึงเปลี่ยนไป
จากผู้ให้ความรู้ ผู้บอกความรู้ (Telling, Talking) มาเป็นผู้ไห้ผู้เรียนใช้กระบวนการ (Process) คิดค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
ตลอดจนแก้ปัญหาด้วยตนเอง ครูจึงเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอน (Teacher) มาเป็น ผู้อํานวยความสะดวก (Facilitator) คือเป็นผู้เตรียมประสบการณ์สื่อการเรียนการสอนให้ผู้เรียนใช้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณภาพคือดีมีปัญญาคือเก่ง
และเป็นผู้มีความสุข คือ สุขภาพกาย และจิตดีโดยสรุปเป็นประชาชนที่ดีเก่ง สุข
เป็นประชาชนที่มองกว้าง คิดไกล ใฝ่รู้เชิด ชูคุณธรรมนั้น
ต้องเป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ที่มา http://attaphiwat.ac.th/about |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น