ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (Skinner)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (Skinner)
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำของสกินเนอร์
Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาส สิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "
การเสริมแรง(Reinforcement )
หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้า
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์ (D.F. Skinner) ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950 สหรัฐ อเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเขาจึงได้คิดเครื่อง มือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม(Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner)กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
การศึกษาในเรื่องนี้ Skinner ได้สร้างกล่องขึ้นมา มีชื่อเรียนกว่า Skinner Box กล่องนี่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีคานหรือลิ้นบังคับให้อาหารตกลงมาในจาน เหนือคานจะมีหลอดไฟติดอยู่ เมื่อกดคานไฟจะสว่างและอาหารจะหล่นลงมาSkinner Box นำนกไปใส่ไว้ในกล่อง และโดยบังเอิญนกเคลื่อนไหวไปถูกคานอาหารก็หล่นลงมา อาหารที่นกได้นำไปสู่การกดคานซ้ำและการกดคานแล้วได้อาหาร
ตัวอย่างตารางการให้การเสริมแรง
|
สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ได้กำหนดการวางเงื่อนไขการกระทำ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากในปัจจุบัน โดยวิธีการวางเงื่อนไขจะใช้การเสริมแรง โดยทดลองกับสัตว์ในห้องปฏิบัติการและค้นคว้าจนพบว่าใช้ได้ดีกับมนุษย์
หลักการวางเงื่อนไขผลกรรม (Operant Conditioning) มีแนวคิดว่า การกระทำใด ๆ (Operant) ย่อมก่อให้เกิดผลกรรม (Consequenceหรือ Effect)
การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม
การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม ผลกรรมที่เกิดขึ้น
· ถ้าเป็นผลกรรมที่ต้องการ เป็นผลกรรมเชิงบวก เรียก การเสริมแรง
· ถ้าเป็นผลกรรมที่ไม่ต้องการ เป็นผลกรรมเชิงลบ เรียกว่า การลงโทษ
การเสริมแรง หมายถึง การทำให้มีพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากผลกรรม ได้แก่
· เสริมแรงทางบวก เช่น ทำงานเสร็จแล้วแม่ให้ถูโทรทัศน์
· เสริมแรงทางเชิงลบ เช่น การขึ้นสะพานลอยเพื่อพ้นจากการถูกจับ
การลงโทษ หมายถึง การให้ผลกรรมที่ไม่ต้องการ หรือ ถอดถอนสิ่งที่ต้องการแล้วทำให้พฤติกรรมลดลง ได้แก่
· การลงโทษทางบวก เช่น เด็กส่งเสียงดัง แล้วถูกดุ
· การลงโทษทางลบ เช่น ทำการบ้านไม่เสร็จแล้วแม่ไม่ให้ไปเล่นเกมส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น