วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561

กระบวนการคิดแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4


การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ  4
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
การคิด
การคิดเป็นกระบวนการทางสมองของมนุษย์ที่มีศักยภาพสูงมากเป็นส่วนที่มนุษย์มีแตกต่างกับสัตว์ต่างๆ การคิดเป็นการแฝงอยู่ในเรื่องของการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้อย่างหลากหลาย

การบวนการคิด
    กระบวนการคิด  เป็นการคิดที่ต้องดำเนินการไปเป็นลำดับขั้นตอน  ที่จะช่วยให้การคิดนั้นประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการคิดนั้นๆ  ซึ่งในแต่ละลำดับขั้นตอนต้องอาศัยทักษะการคิด  หรือลักษณะการคิดจำนวนมาก  กระบวนการที่สำคัญที่หลายกระบวนการ

กระบวนการคิดแก้ปัญหา
    กระบวนการคิดปัญหา  ได้แก่   ลำดับขั้นตอนของการคิดและการดำเนินการแก้ปัญหา   เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีคิดแบบอริยสัจ 4 ( แก้ปัญหา )
เรียกตามทางธรรมะได้ว่า  วิธีแห่งความดับทุกข์  โดยเริมจากตัยวปัญหา  หรือ ทุกข์ ทำความเข้าใจให้ชัดเจน  สืบค้นหาสาเหตุเตรียมไข  วางแผนกำจัดสาเหตุปัญหา  มีวิธีการปฏิบัติ 
4  ขั้นตอน  คือ
    1.   ทุกข์     คือ  การกำนดให้รู้จักสภาพปัญหา   หมายถึง  ความไม่สบายกาย  ความไม่สบายบใจ  อันเนื่องมาจากสภาวะที่ทนได้ยาก คือ  เป็นสภาะที่บีบคั้นจิตใจ  ความขัดแย้ง  การขาดความเที่ยงแท้การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก  ความไม่สมปรารถนา  เมื่อเกิดทุกข์เราต้องไม่ประมาท และต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความเป็นจริง
    2.   สมุทัย  คือ  การกำหนดเหตุแห่งทุกข์เพื่อกำจัด   หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์  คือ เป็นสิ่งเริ่มต้นที่ทำให้เกิดทุกข์  ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป  แต่สาเหตุที่แท้จริงที่ก่อให้เกิดทุกข์  ก็คือ  ตัณหา  หรือความอยาก  ความต้องการ  มี่อยู่  3 ประการคือ 
       2.1   กามตัณหา  หมายถึง  ความอยากได้สิ่งที่ปรารถณาทุกอย่าง  เช่น  อยากได้ทรัพย์สินเงินทอง
       2.2   ภวตัณหา  หมายถึง  ความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่  เช่น  อยากเป็นคนดัง  อยากเป็นดารา  เป็นต้น
       2.3   วิภวตัณหา  หมายถึง  ความไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่  เช่น  ไม่อยากสอบตก  ไม่อยากเป็นคนพิการ  เป็นต้น

    3.  นิโรธ   คือ  การดับทุกข์อย่างมีจุดหมาย  ต้องมีการกำหนดว่าจุดหมายที่ต้องการคืออะไร   หมายถึง  ความดับทุกข์  หรือภาวะที่ทำให้ตัณหาดับสิ้นไป  ทุกข์เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากัณหา หรือความอยาก  ถ้าคนเราลดตัณหาหรือความอยากได้มากเท่าไร  ทุกข์ก็ย่อมน้อยลงไปด้วย  แต่ถ้าเราดับได้โดยสิ้นเชิงชีวิตเราก็จะมีแต่ความสงบ
    4.   มรรค   คือ  การกำหนดวิธีการในรายละเอียดและปฏิบัติเพื่อกำจัดปัญหา  หมายถึง  ข้อปฏิบัติให้ถึงความทุกข์  ได้แก่  การเดินทางสายกลาง  ซึ่งมรรคมีองค์ประกอบด้วย  8  ประการ คือ
    4.1   สัมมาทิฏฐิ  หมายถึง  ความเห็นชอบ  คือการเห็นตามความจริงและรู้ว่าอะไรดี  อะไรไม่ดี
    4.2   สัมมาสังกัปปะ  หมายถึง  ความดำริชอบ   คือการไม่คิดลุ่มหลงให้เกิดสุขในอารมณ์  ไม่คิดอาฆาตพยาบาท  ตลอดจนไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    4.3  สัมมาวาจา  หมายถึง  การเจรจาชอบ  คือการพูดแต่ในสิ่งที่ดี ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด  ไม่พูดหยาบคาบ  ไม่พูดไร้สาระ
    4.4  สัมมากัมมันตะ  หมายถึง  การกระทำชอบ  คือการกระทำในสิ่งที่ดี  ไม่ฆ่าสัตว์  ไม่ลัก-ทรัพย์  ไม่ประพฤติผิดในกาม
    4.5  สัมมาอาชีวะ  หมายถึง  การเลี้ยงชีพชอบ  คือการประกอบอาชีพที่สุจริต  ไม่คดโกง  หลอกลวง  ไม่กระทำในสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อผู้อื่น
    4.6  สัมมาวายามะ  หมายถึง  พยายามชอบ  คือพยายามที่จะป้องกัน ไม่ให้เกิดความชั่ว  พยายามที่จะกำจัดความชั่วที่มีอยู่ให้หมดไป  พยายามสร้างความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิด  และพยายามรักษาความดีที่มีให้คงอยู่ต่อไป
    4.7  สัมมาสติ  หมายถึง  การระลึกชอบ  คือระลึกอยู่เสมอว่าสิ่งที่รู้สิ่งที่เห็นนั้นเป็นไปตามความเป็นจริง
    4.8  สัมมาสมาธิ  หมายถึง  การตั้งจิตมั่นชอบ  คือ  การที่สามารถตั้งจิตใจให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน

การคิดแก้ปัญหา  (  อริยสัจ  4  )
    ศาสตราจารย์  ดร.สาโรช  บัวศรี  เป็นผู้ริเริ่มความคิด ในการนำหลักพุทธรรมมาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา  โดยประยุกต์หลักอริยสัจ  4  อันได้แก่  ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค  มาใช้ควบคู่กับ   กิจในอริยสัจ  4”  อันประกอบด้วย  ปริญญา (  การกำหนดรู้ )  ปหานะ  (การละ ) สัจฉิกิริยา ( การทำให้แจ้ง )  และภาวนา ( การเจริญ หรือลงมือปฏิบัติ )  จากหลักการทั้งสอง  ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช  บัวศรี ได้เสนอแนะกระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนการสอน



ดังนี้
1.       ขั้นกำหนดปัญหา  (  ขั้นทุกข์ )
คือการระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2.       ขั้นตั้งสมมติฐาน ( ขั้นสมุทัย )
คือ  การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและตั้งสมมุติฐาน
3.       ขั้นทดลอง และ เก็บข้อมูล (  ขั้นนิโรธ )
คือ  การกำหนดวัตุประสงค์และวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล
4.       ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล  ( ขั้นมรรค )
คือ  การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป

การคิดเพื่อการแก้ปัญหาตามแนวคิดของ โกวิท  วรพิพัฒน์  มีจุดเริ่มต้นที่ตัวปัญหาแล้ว ย้อนพิจารณาไตร่ตรองถึงข้อมูล  3 ประเภท  คือ ข้อมูลด้านตนเอง  ชุมชนสังคมสิ่งแวดล้อมและข้อมูลทางวิชาการ  ต่อจากนั้น จึงลงมือกระทำการ  หากการกระทำสามารถทำให้ปัญหาและความไม่พอใจของบุคคลหายไป  กระบวนการคิดจะยุติลงแต่หากบุคลคลยังไม่พอใจและปัญหายังคงอยู่  บุคคลจะเริ่มกระบวนการรคิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง  ดังนี้
เริ่ม           ปัญหา               กระบวนการแก้ปัญหา        ความสุข



ข้อมูลตนเอง      ข้อมูลสังคมสิ่งแวดล้อม       ข้อมูลวิชาการ


            
                       ตัดสินใจ


ไม่พอ           ปฏิบัติ             พอใจ



รูปแบบการคิดของโกวิท   วรพิพัฒน์

การจัดการเรียนรู้ตามขั้นของอริยสัจ 4

เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้  โดยผู้เรีนยพยายามค้นคิดการแก้ปัญหาต่างๆ  โดยใช้ลำดับขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นของอริยสัจ  เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้วนตนเอง
การจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจ มีองค์ประกอบดังนี้
1.   หัวข้อปัญหา
2.   ลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหา
3.   สรุปแนวทางการแก้ปัญหา
ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้  โดยศาสตราจารย์  ดร. สาโรช  บัวศรี  (  อ้างถึงในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  2540  :  201-202 )  ดังนี้
ขั้นตอนการสอน
เทคนิคสำคัญ
1.   กำหนดปัญหา  (ขั้นทุกข์ )
1.1  ผู้สอนกำหนดและนำเสนอปัญหาอย่างละเอียด  พยายามให้ผู้เรียนทำความเข้าใจต่อปัญหานั้นตรงหัน  และพยายามเร้าความรู้สึกให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักว่าสิ่งที่ผู้สอนนำเสนอนั้นเป็นปัญหาของทุกคน  ทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  และทุกคนจะต้องร่วมมือกันช่วยแก้ปัญหา   เพื่อความสุขของทุกคน
1.2  ผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนให้ได้ศึกษาพิจารณาดูปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ด้วยความรอบคอบและพยายามกำหนดขอบเขตของปัญหาซึ่งผู้เรียนจะต้องคิดแก้ให้ได้
2.   ตั้งสมมติฐาน  (  ขั้นสมุทัย )
2.1  ผู้อนช่วยผู้เรียนให้ได้พิจารณาด้วยตนเองว่าสาเหตุของปัญหาที่ยกขึ้นมากล่าวในขั้นที่  1 นั้นมีอะไรบ้าง


1.1  การอธิบายอย่างกระจ่างชัด  สร้างภาพ  เหตุการณ์ให้เห็นผลของการละเลยไม่แก้ปัญหาและการโน้มน้าวชักชวนให้เกิดความตระหนักในความสำคัญของการแก้ปัญหา  อาจใช้สื่อที่เหมาะสมในการนำเสนอปัญหาให้สมจริง



1.2  เปิดโอกาศให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายและทั่วถึงและเขียนความแสดงความคิดเห็นทั้งหมดนั้นบนกระดานเพื่อป้องกันการลืมและเป็นการเสริมให้ผู้เรียนพยายามมีส่วนร่วมในบทเรียน
2.1   ใช้คำถามเร้าให้ผู้เรียนช่วยกันคิดและแสดงความคิดเห็น  ผู้สอนเขียนข้อมูลสาเหตุของปัญหาตามที่ผู้เรียนเสนอไว้คู่กับประเด็นปัญหาที่ 1.2 ที่เขียนไว้บนกระดาน


ขั้นตอนการสอน
เทคนิคสำคัญ
2.2 ผู้สอนช่วยผู้เรียนให้ได้เกิดความเข้าใจตระหนักว่าในการแก้ปัญหาใดๆนั้นจะต้องกำจัดหรือดับ
2.3 ผู้สอนช่วยผู้เรียนให้ได้คิดว่าในการแก้ปัญหาที่สาเหตุนั้นอาจจะกระทำอะไรได้บ้าง  คือ  ให้กำหนดสิ่งที่จะกระทำนี้เป็นข้อๆ ไป

3.   ทดลองและเก็บข้อมูล  (  ขั้นนิโรธ )




4.   วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ( ขั้นมรรค)
4.1  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและสรุปได้ว่าในบรรดาการทดลองหรือการกระทำด้วยตนเองหลายๆอย่างนั้น  บางอย่างก็แก้ปัญหาไม่ได้  บางอย่างก็แก้ปัญหาได้ชัดเจน  การแก้ปัญหาให้สำเร็จจะต้องทำอย่างไรแน่
4.2 เมื่อลงข้อสรุปวิธีแก้ปัญหาได้แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันกำหนดแนวทางในการปฏิบัติและลงมือปฏิบัติตามแนวทางนั้นโดยทั่วกัน  รวมทั้งให้ผู้เรียนช่วยกันคิดว่าวิธีการควบคุมและติดตามการปฏิบัติเมื่อแก้ไขปัญหานั้นๆด้วย
2.2  ใช้วิธีการอภิปรายเชื่อมโยงเหตุผล


2.3  ให้ตัวอย่างการกำหนดสิ่งที่จะกระทำแล้วเปิดโอกาสและกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นในการเสริมแรงผู้เรียนที่แสดงความคิดเห็น  เขียนข้อมูลที่ผู้เรียนเสนอไว้บนกระดาน
3      ให้เทคนิคการแบ่งงาน และการทำงานเป็นกลุ่มและเสนอแนะวิธีการจดบันทึกข้อมูล  ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนช่วยกันเสนอว่าจะจดบันทึกข้อมูลอย่างไร  หรือช่วยกันออกแบบตารางบันทึกข้อมูล

4.1  ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิเคาระห์และเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้บันทึกไว้แล้วช่วยกันลงข้อสรุปโดยผู้สอนช่วยเชื่อมโยง  ความคิดของผู้เรียนแต่ละคน


4.2  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นโดยผู้สอนใช้คำถมกระตุ้นให้ข้อมูลย้อนกลับทบทวนเสริมความสำคัญ  สรุปเชื่อมโยงข้อคิดเห็นของผู้เรียนและบันทึกข้อมูลต่างๆบนกระดาน





ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ4 สรุปเป็นแผนภูมิได้ดังนี้


















ข้อดีและข้อจำกัดของจัดการเรียนรู้ตามขั้นสี่ของอริยสัจ 4
ข้อดี
1.          เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน  เพราะผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าหาแนวทางและเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.          ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ทักษะและกระบวนการต่างๆในการเรียนรู้
ข้อจำกัด
1.           เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ใช้เวลามากพอสมควร
2.           ผู้สอนจะต้องคอยดูแล  ช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด  การเรียนรู้จึงจะได้ผลดี
 
















ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ตามขั้นสี่ของอริยสัจ

เรื่อง     การทำน้ำให้สะอาด

ขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ
ขั้นของการสอน
1.       ขั้นปัญหา


2.       ขั้นสมุทัย




3.       ขั้นนิโรธ


4.       ขั้นมรรค
ในชุมชนของเรามีน้ำดื่มไม่สะอาดเสียเลย  ป่วยเจ็บกันบ่อย ๆทำอย่างไร  น้ำดื่มนั้นจึงจะสอาดได้
ถ้าเรากระทำสิ่งต่อไปนี้  จะได้น้ำที่สะอาดไหม ?
       1 )  แกว่งน้ำด้วยสารส้ม
       2 )  ต้มน้ำให้เดือด
       3 )  กรอง
       4 )  กลั่น
ผู้เรียนทดลองทำสิ่งทั้ง  4  ประกอบข้างบนนั้น  ในห้องปฏิบัติการของโรงเรียนและจดผลของการทดลองนั้น ๆ ไว้พิจารณาหรือวิเคราะห์  ต่อไป
1)       ทำการวิเคราะห์ผลการทอลองโดยใช้กล้องจุลทรรศน์หรือวิธีการอื่นๆ  ผู้เรียนก็จะพบว่า
-        น้ำที่แกว่งด้วยสารส้มนั้นใสดี  แต่ยังมีเชื้อโรคเยอะ
-        เชื้อโรคตายหมดเลยในน้ำต้มแต่ขุ่นมาก
-        ยังมีเชื้อโรคอยู่มากในน้ำกรอง
-        น้ำกลั่นน้ำสะอาดมาก
2)       ดังนั้น  สรุปว่าการทำน้ำสะอาดโดยวิธีที่ราคาถูกนั้น คือ  แกว่งน้ำด้วยสารส้มแล้วเอาไปต้มให้เดือด  ส่วนน้ำกลั่นนั้น  เป็นที่ต้องการของเราอย่างยิ่งแต่ออกจะแพงมาก







บรรณานุกรม

กรมวิชาการ.  (2541).  การฝึกเหตุผลเชิงจริธรรม: ทฤษฏีและการปฏิบัติ.  กรุงเทพมหานคร  :  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน.  (2540) . ทฤษฏีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด.กรุงเทพมหานคร  :  ไอ เดีย  สแควร์.
มนัส   บุญประกอบ และคณะ.  (2547).  พลิกปัญหาให้เป็นปัญญา.  กรุงเทพมหานคร  :  โรงพิมพ์ธนพัฒนาศึกษา.
สุมน   อมรวิวัฒน์ และคณะ.  (2536).  กรณีศึกษาเพื่อการเรียนการส่อนส่งเสริมคุณธรรมแห่งวิชาชีพครู.  กรุงเทพมหานคร  :  โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
 สุวิทย์  มูลคำ.  (2547).  กลยุทธ์   การสอนคิดแก้ปัญหา . (พิมพ์ครั้งที่ 1) . กรุงเทพมหานคร  :      ดวงกมลสมัย.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทที่ 1 - 7

คำถามท้ายบทที่ 1 1. เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาหา เรื่อง แนวคิดการออกแบบการเรียนรู้การสอนในบทที่ 1 ท่านคิดว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีความ...