บทที่ 3 รูปแบบการเรียนการสอน
ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน
ในทางศึกษาศาสตร์ มีคำที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ คือ รูปแบบการสอน Model of Teaching หรือ Teaching Model และรูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบ การจัดการเรียนการสอน Instructional Model หรือ Teaching-Learning Model คำว่า รูปแบบการสอน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้
(1) รูปแบบการสอน หมายถึง แบบหรือแผนของการสอน รูปแบบการสอนแบบหนึ่งจะมีจุดเน้นที่เฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง รูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจึงอาจมีจุดหมายที่แตกต่างกัน
(2) รูปแบบการสอน หมายถึง แผนหรือแบบซึ่งสามารถใช้การสอนในห้องเรียน หรือสอนพิเศษเป็นกลุ่มย่อย หรือ เพื่อจัดสื่อการสอน ซึ่งรวมถึง หนังสือ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรรายวิชา รูปแบบ
การสอนแต่ละรูปแบบจะเป็นแนวในการออกแบบการสอนที่ช่วยให้นักเรียนบรรลุ
วัตถุประสงค์ตามที่รูปแบบนั้น ๆ กำหนด
(3) รูปแบบการสอน หมายถึง แผนแสดงการเรียนการสอน สำหรับนำไปใช้สอนในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด แผนดังกล่าวจะแสดงถึงลำดับความสอดคล้องกัน ภายใต้หลักการของแนวคิดพื้นฐานเดียวกัน องค์ประกอบทั้งหลายได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา และทักษะที่ต้องการสอน ยุทธศาสตร์การสอน วิธีการสอน กระบวนการสอน ขั้นตอนและกิจกรรมการสอน และการวัดและประเมินผล
(1) รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง โครงสร้างที่แสดงความสัมพันธ์และส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในการเรียนการสอน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการสอน การประเมินผล รวมทั้งกิจกรรมสนับสนุนอื่น ๆ โดยผ่านขั้นตอนตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
- คำว่ารูปแบบการเรียนการสอน หรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้
(2) รูปแบบการเรียนการสอน เป็นโครงสร้างที่ใช้เป็นแนวในการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน และจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน
การสอน
จากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ พบว่านักการศึกษาไทยส่วนใหญ่ใช้คำว่า รูปแบบการสอน มากกว่ารูปแบบการเรียนการสอนและรูปแบบการจัดการเรียน
การสอน
รูปแบบการสอนมีผู้ให้คำอธิบายไว้ดังนี้
- ลักษณะของรูปแบบการสอน
(1) รูปแบบการสอน ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญที่สัมพันธ์สอดคล้องกัน แม้รูปแบบ การสอนแบบต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบสำคัญคล้ายคลึงกันแต่บางรูปแบบอาจมีองค์ประกอบบางส่วนแตกต่างกันบ้าง
(2) รูปแบบการสอน ควการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญา
ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาสติปัญญา ควรจัดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องและส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา สิ่งแวดล้อมทางปัญญามีหลายลักษณะ เช่น ข้อมูล สิ่งของ รวมทั้งเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ รูปแบบการสอนที่มุ่งมั่นพัฒนาสติปัญญา จึงควรประกอบด้วยขั้นตอนการสอนที่ฝึกการกระทำหรือฝึกการคิดในลักษณะต่าง ๆ โดยมีการจัดข้อมูลหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้รับรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นระบบแบบแผน
สติปัญญาของมนุษย์เป็นความสามารถด้านการคิดในลักษณะต่าง ๆ สติปัญญาของมนุษย์ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่น ในการจำแนกสัตว์ออกเป็น สปีชีส์ต่าง ๆ นั้น ลักษณะสำคัญทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ คือ มนุษย์มีสัดส่วนของน้ำหนักสมองต่อน้ำหนักตัวสูงกว่าสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใช้เองได้ กระบวนการทางสมองที่สัมพันธ์กับความสามารถในการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใช้เองได้ คือ การคิด จึงอาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาสติปัญญาของคน คือ การพัฒนาความสามารถในการคิดนั่นเอง จากทฤษฎีเกี่ยวกับสติปัญญา สติปัญญาที่นักการศึกษาต่างๆ เสนอไว้เป็นที่ยอมรับว่าในสภาพปกติคนเราพัฒนาสติปัญญาได้โดยสามารถคิดในลักษณะต่าง ๆ ความสามารถในการคิดของคนเราสามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างเป็นลำดับการพัฒนาสติปัญญา หรือ พัฒนาความสามารถในการคิด นอกจากเกิดจากการที่คนมีสมองแล้วยังเกิดจากการที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยการสอนเป็นการจัดการสถานการณ์หรือจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง การสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาหรือพัฒนาความสามารถในการคิด จึงเป็นการจัดสถานการณ์หรือกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนพัฒนาความสามารถในการคิดลักษณะต่าง ๆ ได้ แม้คนปกติทุกคนจะมีความสามารถในการคิดได้มาตั้งแต่เกิด แต่เด็กไม่ได้มี "ทักษะกระบวนการทางปัญญา" หรือ"ทักษะการคิด" มาตั้งแต่เกิดได้
- ความสำคัญของการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญา
องศ์ประกอบของรูปแบบ คีฟส์ (Keeves.,1997:386-387 )กล่าวไว้ดังนี้
· รูปแบบจะต้องนำไปสู่การทำนาย ( prediction) ผลที่ตามมาซึ่งสามารถพิสูจน์ทดสอบได้ กล่าวคือ สามารถนำไปสร้างเครื่องมือเพื่อพิสูจน์ทดสอบได้
· โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงเหตุผล( causal relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฎการณ์ / เรื่องนั้นได้
· รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imaginnation) ความคิดรวบยอด (concept) และความสัมพันธ์ (interrelation) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตของการสืบเสาะความรู้
· รุปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationship)มากกว่าความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง
รูปแบบ (Modle) ที่ใช้อยู่โดยทั่วไปมี 5 แบบ (Kaplan 1964 อ้างใน Keeves.,1997:386-387)
1. รุปแบบเชิงเปรียบเทียบ (Analogue Modle) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก ในลักษณะขอ
การเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ อย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
2. รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Modle ) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางการใช้ภาษ
พูดและเขียนรูปแบบลักษณะนี้ใช้มากทางด้านศึกษาศาสตร์
3. รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ ( Melhematical ) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางสูตร
คณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปแบบเชิงภาษาแล้ว
4. รูปแบบเชิงแผนผัง ( Schematic ) ได้แก่ความคิดที่แสดงออกผ่านทางแผนผัง แผนภาพ
ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5. รูปแบบเชิงสาเหตุ ( Causal Modle ) ได้แก่ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสภาพการณ์/ ปัญหาใดๆ รูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ มักเป็นแบบนี้
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
จัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (affective domain)
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย (psycho-motor domain)
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ (process skill)
5.รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (integration )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น